Last updated: 17 ก.พ. 2566 | 683 จำนวนผู้เข้าชม |
สิบสองปันนา
เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา (จีนตัวเต็ม: 西雙版納傣族自治州; จีนตัวย่อ: 西双版纳傣族自治州; อังกฤษ: Xishuangbanna Autonomous Region of Tai Ethnic Groups) ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สิบสองปันนา มีความหมายว่า “นาสิบสองพัน” หรือ “นา 12,000 ผืน” อีกนัยหนึ่งก็คือ 12 เมือง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง (จีน: 景洪 จิ่งหง) เป็นเมืองของชาวไทลื้อ สิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา มีความหมายเดียวกันก็คือสิบสองปันนา แต่แท้ที่จริงแล้วคนไทยกลางจะเรียกว่า สิบสองพันนา ส่วนทางเหนือนั้นเป็น สิบสองปันนา สาเหตุก็เพราะว่า ชาวไทลื้อ และ ชาวล้านนา ออกเสียง “พ” เป็น “ป” ออกเสียง “เชียงรุ่ง” เป็น “เจงฮุ่ง” เหมือนกับคำเมือง ดังนั้นสาเหตุที่แตกต่างกันก็คือสำเนียงในแต่ละถิ่น
สถานที่ท่องเที่ยวของเมืองสิบสองปันนา
วัดป่าเชต์ ราชฐานหลวง
วัดป่าเจย์ เป็นวัดพุทธหินยาน (เถรวาส) ซึ่งตั้งอยุ่ทางทิศใต้ของสวนม่านทิง บนเนื้อที่ 3000 ตารางเมตร ในอดีตวัดแห่งนี้ เป็นวัดที่เจ้าปกครองสิบสองปันนาใช้เป็นที่ไหว้พระและประกอบศาสนกิจ ภายในวัดมีวิหารและอุโบสถ และกุฏิซึ่งเป็นที่จำวัดของพระสงค์ รวมทั้งอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยพุทธศาสนาของมณฑลยูนาน
วัดหลวงเมืองลื้อ
วัดหลวงเมืองลื้อ แห่ง เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา สป.จีนเป็นวัดที่บริษัทพัฒนาการท่องเที่ยวหยวนห้าว จำกัด สิบสองปันนา ยูนนาน ได้ทุ่มเงินลงทุนเองถึง ๓๕๐ ล้านหยวน เพื่อสร้างวัดนิกายหินยาน หรือเถรวาท และพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในแถบนี้มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๘ สืบเนื่องจากตระหนักดีว การสร้างวัดหลวงเมืองลื้อ ถ้าโครงการสร้างแล้วเสร็จเมื่อใด สถานที่แห่งนี้นอกจากจะเป็นที่แสดงวัฒนธรรมทางด้านศาสนา และวัฒนธรรมพื้นเมืองที่ตกทอดมาช้านานแล้ว ยังจะเป็นที่ตั้งของ วิทยาลัยศาสนาพุทธสิบสองปันนา เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาวิจัยศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และท้ายสุดจะเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมศาสนาพุทธนิกายเถรวาท อีกทั้งยังเป็นสถานที่ชาวไต หรือไทลื้อในแถบเอเชียอาคเนย์ได้สืบค้นเรื่องราวบรรพบุรุษของตัวเองได้
วัดขาวเชียงรุ่ง (พระธาตุเจดีย์ปัญโญ)
วัดขาวเชียงรุ่ง(พระธาตุเจดีย์ปัญโญ) เจดีย์เก่าแก่ของสิบสองปันนาตามตำนานถูกสร้างโดยราชวงค์เจ้าผู้ปกครองเมืองเชียงรุ่ง ซึ่งภายในเจดีย์ได้บรรจุพระบรม เกศาธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำนวน 2 เส้น เป็นสิ่งสัการะสูงสุดในเมืองเชียงรุ่ง
หมู่บ้านหัวนา
หมู่บ้านไทลื้อหัวนา ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรุ่งเพียงประมาณ 20 นาที หมู่บ้านไทลื้อหัว หมู่บ้านหัวนา ได้รับการอนุรักษ์จากทางการท้องถิ่น และเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชม ชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี และสถาปัตยกรรมการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย เดินเที่ยวชมหมู่บ้าน ชมวัดหัวนาซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ประจำหมู่บ้าน ใจกลางหมู่บ้าน และมีสินค้าที่เป็นเครื่องเงิน ซึ่งเป็นเครื่องประดับประจำชนเผ่าไทลื้อ และผ้าทอไทลื้อ ฯ ที่ชาวบ้านนำมาขายในรูปแบบสหกรณ์
วัดมหาราชฐานสุทธาวาสหรือวัดสวนม่อน
วัดมหาราชฐานสุทธาวาสหรือวัดสวนม่อน ซึ่งหมายถึงสวนดอกไม้ วัดของชาวไทลื้อที่เก่าแก่ที่สุดในสิบสองปันนา มีอายุเก่าแก่กว่า 1,400 ปี มีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ถึง 6 ครั้ง วัดแห่งนี้นับเป็นวัดที่มีศิลปะสถาปัตยกรรมไทลื้อที่สวยงามยิ่งแห่งหนึ่ง และมีเจดีย์สีทองเหลืองอร่าม เคียงคู่กับอุโบสถ ซึ่งสำหรับวัดสวนม่อนนั้นก็ถือเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่เป็นวัดพุทธแบบเถรวาท เมื่อครั้งปฏิวัติวัฒนธรรมสมัยเหมา เจ๋อ ตุง ที่มีการเผาทำลายวัดวาอารามครั้งใหญ่โดยกองทัพแดง ชาวไทลื้อในหมู่บ้านที่มีความผูกพันและหวงแหนวัดแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงได้พากันนำพระคัมภีร์ของวัดไปซุกซ่อน แล้วทำทีปล่อยให้เป็นวัดร้าง โดยนำวัวควายมาผูกเลี้ยงไว้ในวัดและอุโบสถ เหมือนไม่ได้เคารพศรัทธา วัดแห่งนี้จึงรอดพ้นจากการถูกเผาทำลายมาได้จนถึงปัจจุบัน
หมู่บ้านกั่นหลั่นป้า
หมู่บ้านกั่นหลั่นป้า เป็นหมู่บ้านไทลื้อที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง เป็นชุมชนของชาวไทลื้อขนาดใหญ่บนเนื้อที่ ราว 50 ตารางกิโลเมตร พื้นที่บริเวณนี้เมื่อมองจากเบื่องสูงจะมีรูปร่างคล้ายมะขามป้อม ชาวบ้านจึงเรียกที่นี่ว่า กั่นหลั่นป้า คำว่า กั่นหลั่น นั้นหมายถึงมะขามป้อม สว่นคำว่าป้านั้นหมายถึงพื้นที่ราบ เล่ากันว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาถึงบริเวณนี้ ชาวบ้านได้นำผ้าแพรมาปูบนพื้นเพื่อให้พระองค์เดินผ่าน เมื่อพระองค์เดินผ่านไปแล้วชาวบ้านก็ได้ม้วนห่อผ้าแพรเก็บไว้ จนภายหลังคนไทลื้อได้เรียกที่นี่ว่า เมือง หาน คำว่าหานในคำไทลื้อนั้นหมายถึงการม้วนห่อผ้า ภายในหมู่บ้านมีบ้านยกพื้นของชาวไทลื้อ ผู้มาเยือนสามารถสัมผัสวิถีชีวิตและประเพณีของชาวไทลื้อ หรือลองชิมอาหารปิ้งย่างที่เป็นอาหารพื้นเมืองภายในหมู่บ้านแห่งนี้ ถ้าโชคดีเจอเจ้าของบ้านใจดีเขาจะเชิญผู้มาเยือนขึ้นเรือนไปนั่งในห้องรับแขกด้วย
เมืองใหม่ 9 จอม 12 เชียง
โครงการ 9 จอม 12 เชียงNine Tower & Twelve Walled เป็นโครงการ ความร่วมมือทางการค้าและวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ กับสิบสองปันนามณฑลยูนนาน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างจีน-ไทย ตามยุทธศาสตร์ GMS สร้างเป็นเมืองใหม่มีทั้งโรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก ตลาดน้ำฯ
สวนม่านทิงหรือสวนบ้านถิ่น
สวนม่านทิง หรือสวนบ้านถิ่นในคำไทลื้อ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงรุ้ง มีเนื้อที่ 1.54 หมื่นตารางเมตร เป็นสวนที่มีอายุกว่า 1300 ปี จึงเป็นสวนที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองเชียงรุ้ง ในอดีตสวนแห่งนี้เป็นสวนดอกไม้ของเจ้าผู้ปกครองแขวนสิบสองปันนา จึงเป็นสถานที่พักผ่อนของเจ้าแผ่นดินและขุนนางชั้นสูง และนางสนม ด้านหน้าของสวนม่านทิง มีรูปปั้นทอเหลือของท่านนายก โจวเอินไหล ในชุดไทลื้อ ในมืออุ้มขันน้ำและใบมะกอกและเล่นสงกรานต์กับชาวบ้าน รูปปั้นนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงท่านเมื่อครั้งที่ท่านเดินทางมาดูงานที่ สิบสองปันนาและได้ร่วมเล่นสงกรานต์กับชาวไทลื้อ ซึ่งสร้างความประทับใจแก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก และได้สร้างอนุสรณ์ขึ้นในภายหลัง ภายในสวนมีต้นโพธ์สองต้นซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพระหว่างไทย – จีน ที่สมเด็จพระเทพฯได้ปลูกไว้เมื่อคราวที่ท่านเสด็จเยือนเมืองเชียงรุ้ง ภายในสวนประกอบด้วย สวนป่าซึ่งมีต้นขี้เหล็กและต้นไม้ใหญ่มากมาย สระน้ำ กรงนกยูง และศาลาสำหรับพักผ่อน ด้านหลังของสวนม่านทิงมีเจดย์ขาว และเจดีย์แปดเหลี่ยม
สวนป่าดงดิบสิบสองปันนา
สวนป่าดงดิบสิบสองปันนา อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองเชียงรุ้ง ห่างจากตัวเมืองเชียงรุ้ง ๘ กิโลเมตร เป็นป่าดงดิบเขตร้อนที่อยู่ใกล้เชียงรุ้งที่สุด ครอบคลุมพื้นที่ราว 1.5 หมื่นไร่ ภายในสวนป่าดงดิบมีสภาพป่าเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีพันธ์ไม้เขตร้อนและสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ มีหมู่บ้านชนกลุ่มน้อยจำลองและร้านอาหารเรือนรับรองแขกอยู่ภายในสวน มีการแสดงของชนพื้นเมืองและพิธีแต่งงานของชนกลุ่มน้อยให้นักท่องเที่ยวได้ชม มีการแสดงการเลี้ยงนกยูงที่สวยงามน่าประทับใจ มีส่วนที่เป็นกรงสัตว์ซึ่งจะมีการแสดงของสัตว์แสนรู้ เช่น เสือ หมี ลิง เป็นต้น
สวนป่าอรัญญา
สวนป่าอรัญญา เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งในเขตสิบสองปันนา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงรุ้ง ห่างจากเชียงรุ้ง 134 กิโลเมตร อุทยานแห่งนี้ยังคงสภาพที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้อายุหลายร้อยปีอยู่เป็นจำนวนมาก จุดที่เป็นที่สนใจสำหรับนักท่องเที่ยวคือ ต้น วั่งเทียนสู้ หรือต้นไม้ชี้ฟ้าซึ่งมีความสูง 80 เมตร สะพานเชือกแขวนที่มีความสูง 30 เมตร และเส้นทางเดินชมป่าท่ามกลางผืนป่าธรรมชาติ การเข้าชมสวนป่าอรัญญานั้นต้องนั่งเรือผ่านจุดที่เป็นแม่น้ำลา ก่อนจะไปถึงจุดที่เป็นอุทยานป่าไม้
tag:xishuangbanna,ทัวร์ สิบสองปันนา, สิบสองปันนา, ทัวร์ สิบสองปันนา เชียงราย, ทัวร์ สิบสองปันนา รถไฟความเร็วสูง,ทัวร์ สิบสองปันนา 2566,เที่ยวสิบสองปันนา,สิบสองปันนา pantip,สิบสองปันนา รีวิว,ทัวร์ สิบสองปันนา เชียงราย, ทัวร์ สิบสองปันนา เชียงใหม่, สิบสองปันนา เครื่องบิน,สิบสองปันนา รถไฟลาวจีน,
tag:xishuangbanna,ทัวร์ สิบสองปันนา, สิบสองปันนา, ทัวร์ สิบสองปันนา เชียงราย, ทัวร์ สิบสองปันนา รถไฟความเร็วสูง,ทัวร์ สิบสองปันนา 2566,เที่ยวสิบสองปันนา,สิบสองปันนา pantip,สิบสองปันนา รีวิว,ทัวร์ สิบสองปันนา เชียงราย, ทัวร์ สิบสองปันนา เชียงใหม่, สิบสองปันนา เครื่องบิน,สิบสองปันนา รถไฟลาวจีน,
tag:xishuangbanna,ทัวร์ สิบสองปันนา, สิบสองปันนา, ทัวร์ สิบสองปันนา เชียงราย, ทัวร์ สิบสองปันนา รถไฟความเร็วสูง,ทัวร์ สิบสองปันนา 2566,เที่ยวสิบสองปันนา,สิบสองปันนา pantip,สิบสองปันนา รีวิว,ทัวร์ สิบสองปันนา เชียงราย, ทัวร์ สิบสองปันนา เชียงใหม่, สิบสองปันนา เครื่องบิน,สิบสองปันนา รถไฟลาวจีน,
15 พ.ย. 2567