Last updated: 18 เม.ย 2567 | 613 จำนวนผู้เข้าชม |
เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา (จีนตัวเต็ม: 西雙版納傣族自治州; จีนตัวย่อ: 西双版纳傣族自治州; อังกฤษ: Xishuangbanna Autonomous Region of Tai Ethnic Groups) ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สิบสองปันนา มีความหมายว่า “นาสิบสองพัน” หรือ “นา 12,000 ผืน” อีกนัยหนึ่งก็คือ 12 เมือง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง (จีน: 景洪 จิ่งหง) เป็นเมืองของชาวไทลื้อ สิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา มีความหมายเดียวกันก็คือสิบสองปันนา แต่แท้ที่จริงแล้วคนไทยกลางจะเรียกว่า สิบสองพันนา ส่วนทางเหนือนั้นเป็น สิบสองปันนา สาเหตุก็เพราะว่า ชาวไทลื้อ และ ชาวล้านนา ออกเสียง “พ” เป็น “ป” ออกเสียง “เชียงรุ่ง” เป็น “เจงฮุ่ง” เหมือนกับคำเมือง ดังนั้นสาเหตุที่แตกต่างกันก็คือสำเนียงในแต่ละถิ่น
หมู่บ้านกั่นหลั่นป้า เป็นหมู่บ้านไทลื้อที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง เป็นชุมชนของชาวไทลื้อขนาดใหญ่บนเนื้อที่ ราว 50 ตารางกิโลเมตร พื้นที่บริเวณนี้เมื่อมองจากเบื่องสูงจะมีรูปร่างคล้ายมะขามป้อม ชาวบ้านจึงเรียกที่นี่ว่า กั่นหลั่นป้า คำว่า กั่นหลั่น นั้นหมายถึงมะขามป้อม สว่นคำว่าป้านั้นหมายถึงพื้นที่ราบ เล่ากันว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาถึงบริเวณนี้ ชาวบ้านได้นำผ้าแพรมาปูบนพื้นเพื่อให้พระองค์เดินผ่าน เมื่อพระองค์เดินผ่านไปแล้วชาวบ้านก็ได้ม้วนห่อผ้าแพรเก็บไว้ จนภายหลังคนไทลื้อได้เรียกที่นี่ว่า เมือง หาน คำว่าหานในคำไทลื้อนั้นหมายถึงการม้วนห่อผ้า ภายในหมู่บ้านมีบ้านยกพื้นของชาวไทลื้อ ผู้มาเยือนสามารถสัมผัสวิถีชีวิตและประเพณีของชาวไทลื้อ หรือลองชิมอาหารปิ้งย่างที่เป็นอาหารพื้นเมืองภายในหมู่บ้านแห่งนี้ ถ้าโชคดีเจอเจ้าของบ้านใจดีเขาจะเชิญผู้มาเยือนขึ้นเรือนไปนั่งในห้องรับแขกด้วย
วัดป่าเจ เป็นวัดพุทธหินยาน (เถรวาส) ซึ่งตั้งอยุ่ทางทิศใต้ของสวนม่านทิง บนเนื้อที่ 3000 ตารางเมตร ในอดีตวัดแห่งนี้ เป็นวัดที่เจ้าปกครองสิบสองปันนาใช้เป็นที่ไหว้พระและประกอบศาสนกิจ ภายในวัดมีวิหารและอุโบสถ และกุฏิซึ่งเป็นที่จำวัดของพระสงค์ รวมทั้งอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยพุทธศาสนาของมณฑลยูนาน
สวนม่านทิง หรือสวนบ้านถิ่นในคำไทลื้อ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงรุ้ง มีเนื้อที่ 1.54 หมื่นตารางเมตร เป็นสวนที่มีอายุกว่า 1300 ปี จึงเป็นสวนที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองเชียงรุ้ง ในอดีตสวนแห่งนี้เป็นสวนดอกไม้ของเจ้าผู้ปกครองแขวนสิบสองปันนา จึงเป็นสถานที่พักผ่อนของเจ้าแผ่นดินและขุนนางชั้นสูง และนางสนม ด้านหน้าของสวนม่านทิง มีรูปปั้นทอเหลือของท่านนายก โจวเอินไหล ในชุดไทลื้อ ในมืออุ้มขันน้ำและใบมะกอกและเล่นสงกรานต์กับชาวบ้าน รูปปั้นนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงท่านเมื่อครั้งที่ท่านเดินทางมาดูงานที่ สิบสองปันนาและได้ร่วมเล่นสงกรานต์กับชาวไทลื้อ ซึ่งสร้างความประทับใจแก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก และได้สร้างอนุสรณ์ขึ้นในภายหลัง ภายในสวนมีต้นโพธ์สองต้นซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพระหว่างไทย – จีน ที่สมเด็จพระเทพฯได้ปลูกไว้เมื่อคราวที่ท่านเสด็จเยือนเมืองเชียงรุ้ง ภายในสวนประกอบด้วย สวนป่าซึ่งมีต้นขี้เหล็กและต้นไม้ใหญ่มากมาย สระน้ำ กรงนกยูง และศาลาสำหรับพักผ่อน ด้านหลังของสวนม่านทิงมีเจดย์ขาว และเจดีย์แปดเหลี่ยม
วัดหลวงเมืองลื้อ เป็นวัดพุทธนิกายหินยานที่ใหญ่ที่สุดของจีน โดยการลงทุนก่อสร้างโดยบริษัทเอกชนพัฒนาการท่องเที่ยวหยวนห้าว จำกัด สิบสองปันนา ยูนนาน ด้วยเงินทุนมหาศาลถึง 350 ล้านหยวน นนาน ล้านหยวน ภายในวัดมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ สถานที่แห่งนี้นอกจากจะเป็นที่แสดงวัฒนธรรมทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมพื้นเมืองที่ตกทอดมาช้านานแล้ว ยังจะเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยศาสนาพุทธสิบสองปันนา
สวนป่าดงดิบสิบสองปันนา อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองเชียงรุ้ง ห่างจากตัวเมืองเชียงรุ้ง ๘ กิโลเมตร เป็นป่าดงดิบเขตร้อนที่อยู่ใกล้เชียงรุ้งที่สุด ครอบคลุมพื้นที่ราว 1.5 หมื่นไร่ ภายในสวนป่าดงดิบมีสภาพป่าเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีพันธ์ไม้เขตร้อนและสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ มีหมู่บ้านชนกลุ่มน้อยจำลองและร้านอาหารเรือนรับรองแขกอยู่ภายในสวน มีการแสดงของชนพื้นเมืองและพิธีแต่งงานของชนกลุ่มน้อยให้นักท่องเที่ยวได้ชม มีการแสดงการเลี้ยงนกยูงที่สวยงามน่าประทับใจ มีส่วนที่เป็นกรงสัตว์ซึ่งจะมีการแสดงของสัตว์แสนรู้ เช่น เสือ หมี ลิง เป็นต้น
สวนป่าอรัญญา เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งในเขตสิบสองปันนา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงรุ้ง ห่างจากเชียงรุ้ง 134 กิโลเมตร อุทยานแห่งนี้ยังคงสภาพที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้อายุหลายร้อยปีอยู่เป็นจำนวนมาก จุดที่เป็นที่สนใจสำหรับนักท่องเที่ยวคือ ต้น วั่งเทียนสู้ หรือต้นไม้ชี้ฟ้าซึ่งมีความสูง 80 เมตร สะพานเชือกแขวนที่มีความสูง 30 เมตร และเส้นทางเดินชมป่าท่ามกลางผืนป่าธรรมชาติ การเข้าชมสวนป่าอรัญญานั้นต้องนั่งเรือผ่านจุดที่เป็นแม่น้ำลา ก่อนจะไปถึงจุดที่เป็นอุทยานป่าไม้
6 ส.ค. 2567